ระบบสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศ
ประกอบด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมเป็นหลัก ความพิเศษของเทคโนโลยีทั้งสองนี้ก็ตรงที่ ต่างเป็นเทคโนโลยีที่เสริมซึ่งกันและกัน กล่าวคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพหากเป็นเทคโนโลยีเดี่ยว
ระบบสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบไปด้วย หลักสำคัญในการจัดการสารสนเทศเป็นจำนวนมากซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและเทคโนโลยีใหม่ๆ แต่ในทางรูปแบบแนวคิดของการนำไปใช้นั้นจะมีรูปแบบที่ชัดเจนสามารถใช้วิเคราะห์และจัดการได้จากแนวคิดและแนวทางการจัดการสารสนเทศได้ตาม แนวความคิดที่ตกผลึกของกระบวนการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ (Concepts and Management)
แนวความคิดที่ตกผลึกของกระบวนการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
แนวความคิดที่ตกผลึกของกระบวนการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ (Concepts and Management) เป็นแนวคิดที่อยู่บนพื้นฐานของปัจจัยต่างๆ ที่จะนำระบบสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศมาเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของมนุษย์ ซึ่งจะมีองค์ประกอบที่ใช้แตกต่างกันไปตามภารกิจและขนาดองค์กร วัตถุประสงค์ และเงื่อนไขต่างๆ ปัจจัยเหล่านั้นที่ใช้สำหรับการตัดสินใจสามารถจำแนกออกได้ดังนี้
ระบบสารสนเทศ (Information System) (IS)
ประกอบไปด้วย การเปลี่ยนข้อมูล (Data) ไปเป็นสารสนเทศ (Information) และทำให้สารสนเทศนั้นกลายเป็นความรู้ (Knowledge) นอกจากนี้จากยังมีคำหนึ่งที่มาความหมายสืบเนื่องจากทั้ง 3 คำ คือ ผู้รู้(Wisdom) หรือ กูรู หมายถึง บุคคลที่มีความรู้ด้านนั้นๆ จนเกิดความเชี่ยวชาญ ชำนาญการในความรู้นั้นๆ
ระบบประมวลผลธุรกรรม (Transaction Processing System)
เป็นกระบวนการที่มีการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องเกิดขึ้นประจำวัน เป็นข้อมูลกระบวนการที่เกิดขึ้นซ้ำๆ เช่น ลูกค้าทำการสั่งซื้อหรือจ่ายเงิน การเก็บข้อมูลสินค้าคงคลัง ในธุรกิจที่มีการทำรายการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการทำงานนี้เรียกว่าระบบประมวลผลธุรกรรม เมื่อใดก็ตามที่มีการทำธุรกรรมหรือปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าวข้อมูลที่เกี่ยวข้องจะเกิดขึ้นทันที เช่น ทุกครั้งที่มีการขายสินค้า ข้อมูลที่เกิดขึ้นก็คือ ชื่อลูกค้า ประเภทของลูกค้า จำนวนและราคาของสินค้าที่ขายไป รวมทั้งวิธีการชำระเงินของลูกค้า ระบบนี้จะมีการจัดกลุ่มข้อมูลลักษณะเหมือนกันไว้ด้วยกันการคิดคำนวณ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ ทำการจัดเรียงข้อมูลเพื่อทำให้การประมวลผลง่ายขึ้นและทำการสรุปข้อมูล เป็นการลดขนาดของข้อมูลให้เล็กหรือกะทัดรัดขึ้น มีการเก็บ (Storage)การบันทึกเหตุการณ์ที่มีผลต่อการปฏิบัติงานแต่งานส่วนใหญ่ของ TPS จะเกิดขึ้นในระดับปฏิบัติการมากกว่า
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems) (MIS)
คือ ระบบประมวลผลรายการที่ครอบคลุมกิจกรรมหลัก ๆ ขององค์กร แต่จะแตกต่างจากระบบประมวลผลรายการที่ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร และออกรายงานต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับใช้ตัดสินใจ ซึ่งจะเป็นรายงานสรุปข้อมูลต่างๆ ซึ่งไม่ใช่งานประจำที่ทำอยู่ทุกวัน เหมือนกับระบบประมวลผลรายการ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ยังใช้สำหรับการวางแผน การติดตามและควบคุมงานในองค์กรด้วย ซึ่งผู้บริหารระดับล่าง และกลางเป็นผู้ใช้งาน
ระบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management System)
ระบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management System) เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน คือ
- การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องใช้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร
- การสร้างและแสวงหาความรู้ เช่นการสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว
- การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต
- การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์
- การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
- การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge จัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
- การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่นเกิดระบบการเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ในไปใช้ เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง
ระบบขับเคลื่อนองค์กรที่พัฒนาสืบทอดต่อกันมา (Legacy System)
ระบบขับเคลื่อนองค์กรที่พัฒนาสืบทอดต่อกันมา เป็นระบบการทำงานเดิมที่เคยมีอยู่แล้วภายในองค์กร เป็นระบบที่มีความสำคัญกับการทำงานขององค์กร การเปลี่ยนแปลงองค์กรเข้าสู่องค์กรที่มีความทันสมัยในด้านเทคโนโลยีมากขึ้น legacy System จะมีผลและเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้พัฒนาจะต้องคำนึกถึง เนื่องจากว่า legacy System มักจะเกี่ยวข้องกับการทำงานประจำของพนักงานภายในองค์กร การเปลี่ยนแปลง หรือ การนำระบบใหม่ๆมาแทนที่ระบบเก่าจึงเกี่ยวข้องกับบุคคลภายในองค์กร และควบคุมได้ค่อนข้างยาก[2]
ระบบวิสาหกิจ (Enterprise System)
คือระบบหรือกระบวนการต่างๆ ที่ใช้ทั้งองค์กร เพื่อใช้ทรัพยากรต่างๆร่วมกัน เพื่อช่วยให้การทำงานสะดวก และมีประสิทธิภาพมากขึ้น จะใช้ Database และ Data ร่วมกัน ซึ่งจะคอยจัดการระบบสารสนเทศ โดยรวมเอา Business Process หลักๆขององค์กรเข้ามารวมไว้เป็นหนึ่งเดียว
ลักษณะของ Enterprise system
- ทำให้องค์กรมีโครงสร้างที่แข็งแรง และมีลักษณะการทำงานที่เป็นหนึ่งเดียว ไม่มีการแบ่งเป็นระยะย่อยๆของใครของมัน
- การบริหารจัดการดีขึ้น
- ใช้เทคโนโลยีที่เป็นหนึ่งเดียว ซึ่งจะง่ายต่อการดูแล
- การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามความต้องการของลูกค้า
การได้มาซึ่ง Enterprise systems
- มีการสร้าง Business Model เกิดขึ้นมากมาย
- มีการใช้เทคโนโลยีที่หลากหลาย ลงทุนมาก ใช้งานยาก
- ไม่ได้พิสูจน์ว่าเป็นระบบที่ดีที่สุดในการทำงาน
ส่วนประกอบอื่นๆที่ช่วยสนับสนุนระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
นอกจากแนวคิดระบบใหม่ๆที่ช่วยสนับสนุนสารสนเทศได้แล้ว ยังมีส่วนประกอบอื่นๆที่เกิดขึ้นมาเพื่อสนับสนุนแนวคิดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น
Service-oriented architecture (SOA)
คือ การนำแนวคิดด้านสถาปัตยกรรมแอปพลิเคชันที่มีการเรียกใช้บริการที่อยู่บนเน็ตเวิร์คหรืออินเทอร์เน็ต หรือมี การให้บริการแก่แอปพลิเคชันอื่นๆ ในการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีให้กับองค์กร โดยอาศัยหลักการเว็บเซอร์วิสซึ่งเป็นแค่เครื่องมือในการใช้งานภายในองค์กรถือเป็นแนวคิดที่ต้องสร้างเองในองค์กร
SOA แบ่งเป็น 2 คำ Service-Oriented และ Architecture
- Service-Oriented เป็น Software ที่ไม่ใช่ซอฟต์แวร์ แพ็คเกจ แต่เป็นซอฟต์แวร์ตัวเล็ก ทำงานเฉพาะด้าน ขึ้นอยู่กับว่าจะแบ่งเป็นบริการอะไรบ้าง
- Architecture คือการออกแบบ โดยจะมององค์กรโดยรวมว่าต้องการบริการอะไรบ้าง ก็จะแบ่งบริการนั้นๆออกเป็นส่วนย่อยๆ
ทั้งนี้ หลายคนมองว่า SOAคือเว็บเซอร์วิสแต่จริงๆแล้วไม่ใช่เพราะเว็บเซอร์วิสเป็นแค่เครื่องมือในการใช้งาน ดังนั้น SOA จึงไม่ใช่สินค้า หาซื้อไม่ได้ แต่มันคือแนวคิดที่ต้องสร้างเองในองค์กร
ส่วนที่เกี่ยวข้องกับ SOA ประกอบด้วย 4 ส่วนคือ
- Enterprise Service Bus เป็นโครงข่ายสำคัญในการขับเคลื่อน SOA ทั้งหมด เป็นการเชื่อมต่อระหว่างแอปพลิเคชัน
- Design-Time Governance เป็น ดาต้าเบส กลางช่วยรวบรวมว่าองค์กรมีบริการอะไรบ้าง และช่วยนำบริการออกไปยังหน่วยงานและควบคุมบริการให้เหมาะสมกับองค์กรด้วย
- Run-Time management เป็นตัวจัดการ ทำอย่างไรให้บริการทำงานสอดคล้องกับ SOA ที่ตั้งไว้
- Security Gateway ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง Firewall ที่เป็นเน็ตเวิร์ก แต่เป็น Application Firewall ที่เข้าใจ คำสั่ง XML นอกจากนี้ต้องมี Application Delivery Control ช่วยเร่งความเร็วในการทำงานของ SOA ด้วย
SOA มีประโยชน์อย่างไร[4] SOA มีประโยชน์อย่างมากทั้งบริษัทเอกชนและองค์กรในภาครัฐ โดยถ้ามองในแง่ของบริษัทเอกชน SOA จะช่วยทำให้เกิดการรวบรวมข้อมูลและแลกเปลี่ยนข้อมูลทางธุรกิจได้ง่าย ทำให้สามารถทำธุรกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน โดยไม่ขึ้นกับแพลตฟอร์มของบริษัทนั้น ๆ
โปรแกรมประยุกต์ใช้งานตามภารกิจเฉพาะ (software-as-a-service : SaaS)
The software as a service business model เป็นโมเดลทางด้านธุรกิจที่กำลังเป็นที่นิยม โดยแนวความคิดพื้นฐานเป็นการเอามาแทนที่การขายซอร์ฟแวร์ แบบเก่า ที่มีราคาแพง และการติดตั้งที่ยุ่งยาก น่ารำคาญออกไป โดยผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงการใช้งานผ่านระบบเครือข่าย หรือตัว Internet Browser ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องซื้อฮาร์ดแวร์ หรือ ซอร์ฟแวร์ โดยผู้ใช้งานจะจ่ายเพียงแค่ค่าคิดบริการการเป็นสมาชิก หรือค่าบริการตามที่ใช้งานจริง (pay per usage) ซึ่งจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายลงไปได้ SaaS on demand model ยังเป็นบริการที่สามารถพัฒนาต่อเนื่องได้ตลอดเวลา กับความต้องการที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อย ๆ สามารถดัดแปลงได้ง่าย เข้ากับองค์กร การบำรุงรักษา จะเพียงพอกับทรัพยากร และตามความต้องการ และการคำนวณค่าใช้จ่ายทางด้านการบำรุงรักษาจะเป็นอัตราที่แน่นอน และเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงมากนัก
SaaS และ SOA
- Saas : เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการสร้างซอร์ฟแวร์ในปัจจุบัน นอกจากนั้นซอร์ฟแวร์ยังมีการพัฒนา และผูกติดทุกสิ่งเข้าไว้ด้วยกัน ภายใต้ผู้ผลิตรายเดียว
- SOA : ซอร์ฟแวร์จะมาจากหลายแหล่งผูกติดกันแค่จุดที่ต้องการคำนวณ (point of execution) จึงทำให้สามารถเปลี่ยน เพิ่มเติมส่วนต่าง ๆ ได้ตามความต้องการ จึงทำให้ยืดหยุ่นมากขึ้น
Implementing SaaS : The Utility Computing Concept.
Utility computing หมายถึงการให้บริการการประมวลผล มีความเสถียร และปลอดภัย เหมือนกับการให้บริการไฟฟ้า น้ำประปา หรือโทรศัพท์ เป้าหมายของ utility computing คือการให้บริการทรัพยากรสำหรับการประมวลผลตามความต้องการได้จากทุกแห่งทั่วโลก ตลอดเวลาและตามความต้องการ ปลอดภัย ประสิทธิภาพที่วัดได้ ราคาที่ขึ้นอยู่กับการใช้งานของคุณ ขนาดที่ยืดหยุ่น และง่ายในการบริหารจัดการ ในส่วนของการใช้งานระดับองค์กร จะช่วยลดเงินที่ต้องสูญเสียไปอย่างมหาศาล ไอบีเอ็ม (IBM) On-Demand project, HP, Microsoft, Oracle SAP และบรรดาบริษัทซอฟต์แวร์รายใหญ่ อยู่เบื้องหลังแนวความคิดนี้
ถ้าสำเร็จ Utility computing จะเปลี่ยนเส้นทางการขายซอฟต์แวร์ การจัดส่ง และการใช้งานในโลก ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่าซอฟต์แวร์ทุกชนิดจะกลายมาเป็นบริการและขายแบบเหมือนบริการทุกวันนี้
วิสาหกิจเชิงเสมือนจริง (Virtualization)
เป็นแนวความคิดใหม่ ๆ หลายครั้งที่จะนิยามความหมายว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศ" ซึ่งส่วนใหญ่ประเภทของวิสากิจเชิงเสมือนจริง คือ hardware virtualization แต่โดยทั่วไป วิสาหกิจเชิงเสมือนจริงแยกจากการใช้ประโยชน์ในธุรกิจ และข้อมูลจากทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งวิสาหกิจเชิงเสมือนจริงนั้นยอมรวมกับทรัพยากรสารสนเทศ ด้าน Hardware, Server และรวมถึงทรัพยากรต่างๆที่ต้องการ
ชนิดของวิสาหกิจเสมือนจริง มีดังนี้
- การจัดเก็บ(Storage) การรวมกันทางกายภาพของการจัดเก็บจากหลากหลาย network และควบคุมจากส่วนกลาง
- ด้านเครือข่าย(Network) ประกอบกับเครือข่ายทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ โดยแยกการจัดการออกเป็นส่วนๆ อีกทั้งยังรวมถึง Server ที่อยู่บนเครือข่าย
- Hardware คือการใช้โปรแกรม (Software) ,Hardware ซึ่งรวมถึงส่วนประกอบต่าง ๆของคอมพิวเตอร์ และระบบปฏิบัติการต่างๆ บางครั้งอาจจะเป็น virtual machine
วิสาหกิจเชิงเสมือนจริง สามารถเพิ่มขึ้นเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ในการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศ
สรุป เทคโนโลยี Virtualization เป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์และได้รับความสนใจอย่างมากในปัจจุบัน นอกจากนั้นยังส่งผลกระทบต่อบุคคลกลุ่มต่างๆ ในลักษณะที่แตกต่างกันไป โดยขึ้นอยู่กับบทบาทและแง่มุมของแต่ละกลุ่มบุคคลไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้ผลิตและผู้บริโภคที่จะพิจารณา
กลุ่มคนซึ่งเพิ่มมูลค่าให้กับองค์กร (Knowledge Workers)
ปัจจุบันสังคมได้ปรับเปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจที่เน้นการผลิตไปสู่การบริการและความรู้ และองค์กรชั้นนำส่วนใหญ่เชื่อว่า "ความรู้" คือทรัพย์สินที่สำคัญและจะเป็นตัวสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน เพราะความรู้ลอกเลียนแบบกันยากแต่ต้องบริหารจัดการเอง ทำให้กระแสตื่นตัวเรื่อง การบริหารความรู้เป็นที่นิยมอย่างมาก ขณะเดียวกันกลุ่มคนที่ปฏิบัติงานบนฐานขององค์ความรู้ หรือที่เรียกว่า "Knowledge Workers" ซึ่งเป็นพลังสำคัญของระบบเศรษฐกิจสังคมใหม่ ก็กลายเป็นจุดสนใจมากขึ้น
มีนักวิชาการให้ความหมายของคำว่า Knowledge Workers ว่ากลุ่มคนซึ่งเพิ่มมูลค่าให้กับองค์กร โดยแปลงและประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นข้อมูลข่าวสารใหม่ ซึ่งจะนำไปใช้ในการค้นหาและแก้ปัญหาขององค์กร เพิ่มผลประโยชน์ให้กับองค์กร พวกเขาสร้างความร่วมมือและทำงานร่วมกับคนอื่น เรียนรู้จากผู้อื่น พร้อมที่จะเสี่ยงและเรียนรู้จากความผิดพลาด ไม่ใช่แค่เพียงแต่จ้องจะวิพากษ์วิจารณ์จับผิดผู้อื่น กล่าวโดยสรุป Knowledge Workers ก็คือคนที่แก้ปัญหา ใช้สติปัญญาไม่ใช่งานแรงงานหรือธุรการงานประจำ พวกเขาต้องการความอิสระในการปฏิบัติงานสูง ใส่ใจต่อคุณภาพของการตัดสินใจและการใช้วิจารณญาณ มีความรู้พื้นฐานที่คนอื่นเลียนแบบได้ยาก สามารถในการแยกแยะ สร้าง ใช้ และพัฒนาข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนองค์ความรู้ให้มีความลึกซึ้งขึ้นกว่าเดิม เพื่อผลประโยชน์คือความสำเร็จขององค์กร[5]
กิจกรรมและบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ
กิจกรรมและบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถแบ่งออกได้เป็นสามระดับคือ
- กิจกรรมเพื่อการดำเนินงานในองค์กร (Operational Activities) - การปฏิบัติงานที่เกิดเป็นประจำในองค์กร เป็นงานของพนักงานทั่วไปจนถึง supervisor เช่น การบันทึกคำสั่งสินค้า การทำบัญชีรายวัน
- กิจกรรมเพื่อการบริหารงานในองค์กร (Managerial Activities) - เป็นงานในลักษณะการบริหาร ซึ่งเป็นงานบริหารระดับกลางเสียส่วนใหญ่ ผู้ที่มีบทบาทหลักได้แก่หัวหน้าฝ่าย-ผู้จัดการ เช่น การวางแผนงานระยะสั้น การจัดการและการควบคุมงาน
- กิจกรรมเชิงกลยุทธ์สำหรับองค์กร (Strategic Activities) - เป็นการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ ที่เกิดจากผู้บริหารระดับสูง เป็นการกำหนดทิศทางและการวางแผนธุรกิจขององค์กร
ลักษณะเด่นของระบบสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ให้ผลตอบแทนจากเทคโนโลยีสารสนเทศสูงสุด
- ช่วยให้สามารถวางแผนการจัดการสารสนเทศที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตที่ส่งผลต่อองค์กรได้
- ช่วยให้สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสารสนเทศที่มีได้อย่างเหมาะสม
- และยังช่วยเปรียบเทียบระดับคุณค่าของข้อมูลอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น